สมุนไพรไทยโอกาสการแพทย์ทางเลือก

สมุนไพรไทยโอกาสการแพทย์ทางเลือก

การแพทย์แผนตะวันออกการแพทย์ทางเลือก “สมุนไพร” (Herbs) คืออะไร

นอกจากแพทย์แผนไทยแล้ว แพทย์แผนจีน ถือเป็นสมุนไพรเป็น “การแพทย์แผนตะวันออก” เป็น “การแพทย์ทางเลือก” (Alternative Medicine) ที่นำมาใช้ทดแทนการแพทย์แผนปัจจุบัน ประเทศไทยใช้สมุนไพรเพื่อการรักษามานานแต่บรรพบุรุษที่สั่งสมองค์ความรู้มาอย่างต่อเนื่อง มีร้านขายยาแผนโบราณ ทั้งแผนจีน และ แผนไทย ปัจจุบันมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข คุ้มครองตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ 198 ตำรา และตำรับยาแผนไทยของชาติ 30,000 ตำรับ ตำรายาสมุนไพรที่สำคัญ เช่น “แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์” สมัยรัชกาลที่ 5 กว่า 1,200 ตำรับ ตำรายาวัดโพธิ์ สมัยรัชกาลที่ 3
สมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี ในที่นี้จะเน้นเฉพาะสมุนไพรที่เป็น “พืช” เพราะคำว่าสมุนไพรนั้น มีความหมายรวมไปถึงสิ่งที่ไม่ใช่พืชด้วย สมุนไพรนั้นจะหมายรวมถึง “ผลิตผลธรรมชาติที่ได้จาก พืช สัตว์ และแร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ หากนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยา ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย

แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทคุณค่าของสมุนไพรภูมิปัญญาโบราณก็ถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอดทิ้งไป แต่โบราณมาสมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริงที่ใช้ได้อย่างกว้างขวาง เพราะแต่ก่อน และบ้านนอกชนบทไม่มีสถานพยาบาล หรือ อยู่ไกล ส่วนใหญ่สถานพยาบาลจะมีอยู่ที่ตัวเมือง ตัวจังหวัดเท่านั้น

สมุนไพรไทยได้รับการยอมรับในคุณค่าแล้ว

จุดเริ่มเมื่อภาครัฐเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ว่า “ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม” ในช่วงการส่งเสริมผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน “โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” (OTOP : One Tambon, One Product) ก็มีการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นสมุนไพรไทยด้วย ตามได้กำหนดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ พ.ศ.2544 แบ่งหมวดหมู่ของผลิตภัณฑ์ออกเป็น 6 ประเภท คือ 1. อาหาร 2. เครื่องดื่ม 3. ผ้า เครื่องแต่งกาย 4. เครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่ง และ 5. ศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก และ 6. สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารและยา

ในที่สุดได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 ที่กำหนดบทนิยามคำว่า “ผลิตภัณฑ์สมุนไพร” ให้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่เป็นยาแผนไทยและผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้สำหรับการรักษา บรรเทา ป้องกันโรคหรือให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้าง หรือการทำหน้าที่ของร่างกายมนุษย์ รวมถึงกำหนดนิยามคำว่า“สมุนไพร” “ยาแผนไทย” “ยาพัฒนาจากสมุนไพร” “การแพทย์แผนไทย” ด้วย ซึ่ง สมุนไพรในที่นี้จะไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 กล่าวคือกฎหมายว่าด้วยยาและกฎหมายว่าด้วยอาหาร แต่อย่างใด มีคณะกรรมการผลิตภัณฑ์สมุนไพรทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อควบคุมและกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สมุนไพร หวังในระดับสากลการส่งออกด้วย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 55 ว่าด้วยการสนับสนุนให้มีการพัฒนาด้านการแพทย์แผนไทยในการบริการสุขภาพ โดยบัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ มาตรา 69 ว่าด้วยเรื่อง การส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างเศรษฐกิจให้กับ ประเทศ และการสร้างนวัตกรรมยาสมุนไพรก็นับเป็นโอกาสทองของคนไทย

สมุนไพรไทยนั้นเป็นจุดแข็งของประเทศไทย มีการใช้กันมาอย่างยาวนาน และเป็นภูมิปัญญาที่ส่งต่อรุ่นสู่รุ่น

Related

พืชล้มลุกที่มีอายุฤดูเดียว เมล็ดจัดเป็นธัญพืชที่มีกลิ่นหอม อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และแร่ธา
โรคโควิด-19 (COVID-19, ย่อจาก Coronavirus disease 2019) มีชื่อชั่วคราวที่ใช้ในตอนแรกคือ 2019-nCoV และชื่อทางการในปัจจุบันคือ SARS-CoV-2 เป็นโรคติดเ
พืชล้มลุกที่มีอายุฤดูเดียว เมล็ดจัดเป็นธัญพืชที่มีกลิ่นหอม อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และแร่ธา