#สื่อความรู้สู่สังคม #A2P
#สัปดาห์รู้รักษ์ตระหนักใช้ยาต้านจุลชีพโลก #WorldAntimicrobialAwarenessWeek
.
“เจ็บคอแบบไหนถึงควรใช้ยาปฏิชีวนะ”
โดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
.
องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดให้ทุกวันที่ 18 - 24 พฤศจิกายน เป็นสัปดาห์รู้รักษ์ตระหนักใช้ยาต้านจุลชีพโลก (World Antimicrobial Awareness Week หรือ WAAW) มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับการดื้อยาต้านจุลชีพทั่วโลก และเพื่อส่งเสริมแนวทางปฏิบัติสำหรับประชาชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้กำหนดนโยบายเพื่อให้เกิดการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างถูกต้องเหมาะสม ลดปัญหาเชื้อดื้อยา
.
เนื่องในโอกาสสัปดาห์รู้รักษ์ตระหนักใช้ยาต้านจุลชีพโลกประจำปีนี้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับ “เจ็บคอแบบไหนถึงควรใช้ยาปฏิชีวนะ” มาฝากกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา โดยคนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) มักมีอาการเจ็บคอจากไวรัส ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ (ยาต้านแบคทีเรีย) ในการรักษา เพราะนอกจากจะไม่ส่งผลต่อการรักษาแล้วยังอาจทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาด้วย
.
ทั้งนี้ ยาต้านจุลชีพ ได้แก่ ยาต้านแบคทีเรียหรือยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัส ยาต้านเชื้อรา ยาต้านปรสิต
พวกเราทุกคนสามารถลดเชื้อดื้อยาได้ โดยหยุดพฤติกรรมเหล่านี้ เพราะเสี่ยงทำให้เกิดเชื้อดื้อยา
.
× ซื้อยาต้านจุลชีพกินเอง เช่น ยาต้านแบคทีเรียหรือยาปฏิชีวนะ
× ซื้อยาต้านจุลชีพตามคนอื่น
× รับประทานยาต้านจุลชีพไม่ครบขนาดหรือระยะเวลาการรักษา
× ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของการรับประทานยาต้านจุลชีพที่ถูกต้องและเหมาะสม
× อมยาอมที่ผสมยาฆ่าเชื้อ
× เอายาต้านจุลชีพชนิดรับประทานมาโรยแผล
× ใช้ยาต้านจุลชีพในปศุสัตว์
.
ดังนั้นหากสงสัยภาวะติดเชื้อ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อประเมินความจำเป็นของการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพ
.
อ้างอิง : 1)ภาณุมาศ ภูมาศ, ตวงรัตน์ โพธะ, วิษณุ ธรรมลิขิตกุล และคณะ. ผลกระทบด้านสุขภาพ และเศรษฐศาสตร์ จากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย : การศึกษาเบื้องต้น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2555;6(3):352-360.
2) เมื่อเชื้อดื้อยาคือภัยร้ายแรงทุก 15 นาที มีคนไทยตาย 1 คน [โบรชัวร์]. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชมรมเภสัชชนบท, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, มูลนิธิหมอชาวบ้าน, คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล, มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
3) สถานการณ์การดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: คณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ สำนักงานอาหารและยา; [เข้าถึงเมื่อ 18 ต.ค. 2564], เข้าถึงได้จาก: https://amrthailand.net/Home/Thailand
.
ตรวจสอบข้อมูล : ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
.
ออกแบบ : งานผลิตและบริการสื่อ สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์
.
วันที่ 18-24 พฤศจิกายน 2564 สัปดาห์รู้รักษ์ตระหนักใช้ยาต้านจุลชีพโลก
#ถ้าชอบกดไลค์ #อยากรู้อะไรถามเพิ่ม